บทความ5
1. บทน า
ปัจจุบันนี้ประชากรของโลกกว่าร้อยละ 50 ต่างอาศัยอยู่ในพื้นที่เขตเมืองแทบทั้งสิ้น และมีรายงานว่า
เมืองต่างๆ กว่า 400 เมืองทั่วทั้งโลกมีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นมากกว่า 1 ล้านคน (Sommeechai, 2011)
อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่จะมีการขยายตัวของพื้นที่เมืองและจ านวนประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองเพิ่มมากขึ้นทุก
ปี นอกจากนี้ พื้นที่เขตเมืองยังเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาเกือบจะทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทางด้าน
อุตสาหกรรม เศรษฐกิจ เป็นศูนย์กลางของการเมือง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง เป็นต้น ซึ่งจากการเป็น
ศูนย์กลางของการพัฒนาเกือบทุกๆ ด้าน และเป็นที่อยู่อาศัยของประชากรส่วนใหญ่ของโลกนี่เอง จึงท าให้
ประเด็นปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เขตเมือง ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาทางด้านมลพิษทางอากาศ ปัญหาน้ า
เสีย ปัญหาทรัพยากรดินเสื่อมโทรม ปัญหาขยะ ฯลฯ ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ประเด็น
ปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในเขตเมือง เช่น การเผาผลาญพลังงานเชื้อเพลิง การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
จากภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และการคมนาคมขนส่ง อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน
จากพื้นที่ป่าไม้เพื่อน าไปพัฒนาทางด้านต่างๆ นั้น ก็เป็นตัวกระตุ้นที่ส าคัญที่ส่งผลกระทบให้การเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศของโลกทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากข่าวคราวและข่าวสารต่างๆ ที่ชี้ให้เห็นถึง
ผลกระทบของความผันผวนของสภาพภูมิอากาศของโลกเราในปัจจุบัน
ปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขตเมืองย่อมส่งผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยง
ไม่ได้ เช่น มลพิษทางอากาศส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ ปัญหาน้ าเสีย แหล่งน้ าเสื่อมโทรม และขาด
แคลนแหล่งน้ าส่งผลกระทบต่อน้ าในการอุปโภคและบริโภค อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อการขาดแคลนแหล่งน้ า
ในการท าการเกษตร ปัญหาทรัพยากรที่ดินเสื่อมโทรมท าให้ผลผลิตทางการเกษตรตกต่ า ซึ่งส่งผลกระทบต่อ
ความมั่นคงทางอาหารของมนุษย์ นอกจากนี้ปัญหามลพิษเหล่านี้ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของมนุษย์ เช่น
ท าให้มนุษย์เกิดภาวะความตึงเครียดจากสภาพมลภาวะทางอากาศ การจราจรที่คับคั่ง ความสับสนวุ่นวายที่
เกิดขึ้นในสังคมเมือง ดังนั้นจะเห็นได้ว่ามนุษย์และสิ่งแวดล้อมล้วนมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงและส่งผลกระทบ
ซึ่งกันและกันอย่างแยกจากกันไม่ได้ แนวทางหนึ่งที่พอจะช่วยบรรเทาและเยียวยาปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขต
เมืองและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกเราก็คือ ท าอย่างไรจึงจะช่วยฟื้นฟูและเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ หรือ
พื้นที่สีเขียวให้มีมากขึ้น เนื่องจากพื้นที่สีเขียวหรือพื้นที่ป่าไม้เหล่านี้ท าหน้าที่ทั้งเป็นแหล่งปัจจัยสี่ในการ
ด ารงชีวิตของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นแหล่งอาหาร ยารักษาโรค แหล่งน้ า อีกทั้งยังท าหน้าที่คล้ายปอดขนาดใหญ่
ของโลกในการช่วยดักกรองมลพิษต่างๆ และยังเป็นแหล่งดูดซับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นก๊าซ
เรือนกระจกที่ส าคัญเอาไว้ในรูปของเนื้อไม้ “การป่าไม้ในเมือง” จึงเป็นหนทางหนึ่งในการที่จะช่วยบรรเทา
และเยียวยาปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขตเมืองให้ดีขึ้น ทั้งยังจะทวีความส าคัญมากยิ่งขึ้นในอนาคต ดังจะเห็นได้จาก
ที่ประเทศต่างๆ และเมืองต่างๆ ทั่วโลกต่างให้ความส าคัญกับงานทางด้านการจัดการพื้นที่สีเขียวในเมือง และ
การป่าไม้ในเมือง จนก าหนดเป็นแนวนโยบายที่ส าคัญในการพัฒนาประเทศและการพัฒนาเมืองในอนาคต
2
เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง “การคัดเลือกชนิดไม้และการจัดการต้นไม้ในเมือง” วันเสาร์ ที่ 10 กันยายน 2559 เวลา 10:00-12:00
โดย มณฑาทิพย์ โสมมีชัย ภาควิชาวนวัฒนวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ E-mail: fformts@ku.ac.th
ส าหรับสถานการณ์ล่าสุดจะเห็นได้ว่างานทางด้านการป่าไม้ในเมือง รัฐบาลได้ให้ความส าคัญเป็น
อย่างมาก โดยล่าสุด ท่านนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้กล่าวถึง งานด้าน "รุกขกร" หรือ "การ
จัดการดูแลต้นไม้ในเขตเมือง" ถึง 2 ครั้ง โดยครั้งแรก ท่านนายกรัฐมนตรีฯ ได้กล่าวไว้เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน
2559 เนื่องในโอกาสวันสิ่งแวดล้อมโลก ว่า "...ส ำหรับต้นไม้ในเขตเมืองที่ต้นไม้ใหญ่ ในฤดูฝนจะแตก
กิ่งก้ำนสำขำ จนเกิดปัญหำกำรระสำยไฟฟ้ำ รำกต้นไม้ดันพื้นหรือทำงเท้ำ ท ำให้ท่ออุดตัน หรืออำจโค่นล่ม
ให้จัดกำรโดยยึดหลักกำรของรุกขกรรม คือ กำรดูแลต้นไม้อย่ำงถูกต้อง ทั้งกำรปลูก กำรตัดแต่ง โค่น หยุด
กำรกุดใบ บั่นยอด ที่ผ่ำนมำเจ้ำหน้ำที่มักละเลยกำรใช้หลักวิชำกำร ส่งผลให้ต้นไม่อ่อนแอและถูกท ำลำย
อย่ำงไม่รู้ตัว ซึ่งควำมส ำคัญของต้นไม้ใหญ่ในเขตเมืองนั้น สำมำรถช่วยลดอุณหภูมิลงได้ 2-3 องศำ ดังนั้น
จ ำเป็นต้องมี รุกขกร ท ำงำนร่วมกับหน่วยงำนอื่นๆ เพื่อจัดกำรกับต้นไม้ให้อยู่ร่วมกับสำยไฟฟ้ำและชุมชน
เมืองได้อย่ำงสมำนฉันท์ ย้ ำว่ำจ ำเป็นต้องมี รุกขกร หรือ นักวิชำชีพที่คอยจัดกำรดูแลต้นไม้ ท ำงำนร่วมกับ
หน่วยงำนอื่นๆ ที่มีหน้ำที่สร้ำงถนน ทำงเท้ำ หรือ ติดตั้งเสำไฟฟ้ำ เพื่อจัดกำรกับต้นไม้อย่ำงถูกวิธี ให้
สำมำรถอยู่ร่วมกับสำยไฟฟ้ำ และชุมชนเมืองได้อย่ำงสมำนฉันท" พร้อมกันนี้ นายกฯ ได้สั่งการให้ กทม.
จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) การไฟฟ้า และกรมทางหลวง จัดให้มีรุกขกรร่วมปฏิบัติงานเมื่อ
ต้องจัดการกับต้นไม้ และย้ าว่า นับจากนี้ไปอีก 3 เดือน จะต้องไม่มีการตัดแต่งหรือโค่นต้นไม้ที่ผิดวิธี โดยยก
เรื่องนี้ให้เป็นวาระส าคัญที่ทุกฝ่ายต้องให้ความร่วมมือ เพื่อสร้างความยั่งยืนในการดูแลธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม หากจ าเป็น จะต้องมีการปรับแก้กฎหมาย ก็พร้อมสนับสนุน พร้อมทั้งขอให้ประชาชนมีส่วนร่วมใน
การดูแล ด้วยการเป็นหูเป็นตา หากพบเห็นการท าลายต้นไม้อย่างไม่ถูกต้อง สามารถแจ้งหรือร้องเรียนได้ที่
ศูนย์ด ารงธรรมทั่วประเทศ
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2559 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวใน
รายการคืนความสุขให้คนในชาติ ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ตอนหนึ่ง เรื่อง
ของการดูแลต้นไม้ในเมือง การปลูกป่าที่มีคุณภาพที่ยังท าไม่ส าเร็จ โดยเฉพาะต้นไม้ในเมือง นายกรัฐมนตรี
กล่าวว่า "อย่ำคิดว่ำเป็นเรื่องเล็ก เพรำะต้นไม้กว่ำจะโตต้องใช้เวลำยำวนำนกว่ำจะโตเป็นต้นใหญ่ได้ กำร
ตัดต้นไม้แบบบั่นยอด ตัดเรื่อยเปื่อย ตลอดจนกำรที่จะต้องท ำลำยอุโมงค์ต้นไม้มีวิธีกำรมำกมำย เช่น
เปลี่ยนเส้นทำงแทนตัดต้นไม้ทิ้ง หรือไม่ก็ต้องใช้วิธีกำรดูแลกำรตัดต้นไม้อย่ำงมีศิลปะ เพื่อจะอนุรักษ์ต้นไม้
ใหญ่ไว้ เป็นต้น" นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีฯ ยังกล่าวอีกว่า "ได้สั่งการให้สร้างระบบการบริหารจัดการต้นไม้
ในเมืองเป็นไปเช่นเดียวกับนานาชาติ ท าในหลายๆ ประเทศ โดยน าความรู้ด้านรุกขกรรม ให้ทุกหน่วยงานที่
เกี่ยวข้อง กรุงเทพมหานคร การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
องค์การบริหารส่วนจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด กรมทางหลวง รวมถึง กรมทางหลวงชนบท กระทรวงพลังงาน เพิ่ม
ต าแหน่ง รุกขกร หรือ หมอต้นไม้ มาท าหน้าที่ดังกล่าว
"ผมขอให้กระทรวงมหำดไทย กระทรวงคมนำคม กระทรวงพลังงำน ได้มีกำรบูรณำกำรใน
กำรแก้ปัญหำร่วมกัน ปัญหำไม่สำมำรถจะแก้ได้เพียงหน่วยงำนใดหน่วยงำนหนึ่งเท่ำนั้น ต้องร่วมมือกันใน
กิจกรรมเดียวกัน ฉะนั้น อำจจะต้องมีกำรปรับแก้กฎหมำยในเชิงบูรณำกำร หรือดูแลในเรื่องของกำรจัดท ำ
ระบบผังเมืองที่เหมำะสม วันนี้เรำเวนคืนที่ส ำหรับท ำถนน ท ำทำงรถไฟ แต่ยังไม่เพียงพอส ำหรับกำรปัก
เสำไฟฟ้ำ หรือปลูกต้นไม้อะไรต่ำงๆ ก็ปลูกเข้ำไปพื้นที่ก็เล็ก พอโตก็ต้องตัดทิ้ง นั่นแหละปัญหำต้องแก้
ตั้งแต่ต้นเหตุว่ำ จะต้องท ำอย่ำงไรให้ลงตัว อำจจะต้องมีกำรจ้ำงคนตัดแต่งต้นไม้ให้สวยงำมมีศิลปะ ไม่ใช่
จ้ำงใครก็ได้มำตัดต้นไม้ เพรำะฉะนั้นจะต้องมีคนที่เรียกว่ำ รุกขกร ออกแบบตัดให้เป็นศิลปะ มีช่องให้
สำยไฟลอดได้อย่ำงไร"
3
เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง “การคัดเลือกชนิดไม้และการจัดการต้นไม้ในเมือง” วันเสาร์ ที่ 10 กันยายน 2559 เวลา 10:00-12:00
โดย มณฑาทิพย์ โสมมีชัย ภาควิชาวนวัฒนวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ E-mail: fformts@ku.ac.th
สิ่งเหล่านี้น่าจะตอกย้ าและกระตุ้นเตือนให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้าน "การป่าไม้ใน
เมือง" ได้ขยับและด าเนินการอย่างจริงจังต่อไป เพื่อท าให้ "ป่าในเมือง...มีความสวย สมบูรณ์และเป็นหน้าตา
ของบ้านเมืองในที่สุด"
2. วัตถุประสงค์
1) เพื่อศึกษาถึงประวัติและความเป็นมาของการป่าไม้ในเมือง
2) สามารถอธิบายถึงความหมาย ประเภท และองค์ประกอบของป่าไม้ในเมือง
3) สามารถอธิบายถึงบทบาท/หน้าที่ของการป่าไม้ในเมือง
4) สามารถอธิบายถึงแนวทางและหลักการในการจัดการป่าไม้ในเมืองเบื้องต้นได้
3. วิวัฒนาการและความเป็นมาของงานป่าไม้ในเมือง
1) วิวัฒนาการและความเป็นมางานป่าไม้ในเมืองของโลก
ยุคโบราณ
ช่วงอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
ในช่วงนี้ วิถีชีวิตเป็นแบบสังคมเกษตรกรรม มีการปกครองแบบนครรัฐซึ่งมีเมืองหลวง
แวดล้อมด้วยพื้นที่เกษตรเป็นขอบเมืองในบริเวณไม่กว้างขวางนัก บ้านเรือนเกาะกลุ่มแน่น แต่จะมีลานโล่ง
สาธารณะของชุมชนเมือง ในยุคต่อมามีการสร้างหอสูงลดหลั่นเป็นชั้นๆ ที่ประกอบด้วยลานกว้าง โดยรอบๆ มี
ต้นไม้หนาแน่น มีการสร้างสวนลอยที่มีชื่อเสียงคือ “สวนลอยที่เมืองบาบิโลน”
ช่วงอารยธรรมกรีก
มีการใช้พื้นที่โล่งประเภทสนามหญ้า ใช้เป็นที่พบปะสังสรรค์กันระหว่างปราชญ์กับ
ศิษย์
ช่วงอารยธรรมโรมัน
องค์ประกอบเมืองประกอบด้วยก าแพงเมือง ประตู ท่อน้ าประปา The Forum
(เหมือนจุดศูนย์กลางของหน่วยงานราชการ) ที่พักอาศัย และบริเวณที่ท าเกษตรกรรม
ยุคกลาง (เมืองในยุคมืด)
เมืองมีการเจริญเติบโตแบบ concentric growth มี 2 ศูนย์กลางชุมชน คือปราสาท และ
วัด ตลาดสดของท้องถิ่นเป็นที่ประกอบกิจกรรมร่วมกันทางสังคม ต่อมาเมื่อเกิดการต่อสู้แย่งชิงอ านาจ เกิด
สงคราม ไม่ได้อยู่ในความสงบ เมืองยุคนี้จึงมีความเป็นอยู่แร้นแค้น แออัด ขาดพื้นที่ว่างในเมืองและ
สวนสาธารณะลานส าหรับพักผ่อน มีแต่อาคารที่สร้างใกล้ชิดกัน ไม่มีแสงแดด ต้นไม้ หรือธรรมชาติที่เจริญตา
เจริญใจ บรรยากาศอับเฉา จนเรียก “เมืองในยุคมืด”
4
เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง “การคัดเลือกชนิดไม้และการจัดการต้นไม้ในเมือง” วันเสาร์ ที่ 10 กันยายน 2559 เวลา 10:00-12:00
โดย มณฑาทิพย์ โสมมีชัย ภาควิชาวนวัฒนวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ E-mail: fformts@ku.ac.th
ยุคเรเนซอง (ยุคทองของศิลปะวิทยาการ)
เป็นยุคที่ศิลปะวิทยาการเจริญเป็นอย่างยิ่ง เกิดความนิยมตามธรรมชาติ เมืองต่างๆ มี
นโยบายส่งเสริมธรรมชาติของเมือง มีสวนไม้ดอก สวนสาธารณะ สวนสัตว์ สวนพฤกษศาสตร์ ขึ้นตามริมฝั่ง
แม่น้ าล าคลอง กลายเป็นที่พักผ่อนของคนเมือง ภูมิสถาปัตยกรรม หรือศิลปกรรม การจัดพื้นที่ปรากฏทั่วไปทั้ง
ในคฤหาสน์ พระราชวัง เช่น พระราชวังแวร์ซาย บริเวณใดที่เป็นที่ว่างก็จะมีการจัดตกแต่งสวนด้วยต้นไม้
ดอกไม้สนามหญ้า สระน้ า เพื่อช่วยลดความแออัดของเมือง ในยุคนี้ได้เกิดบิดาแห่งภูมิสถาปัตยกรรม คือ
Olmstead ขึ้น อีกทั้งยังได้มีการสร้างสวนสาธารณะแห่งชาติและมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ด้วยการท าถนนที่มี
ทิวทัศน์สวยงาม
ยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรม (ศตวรรษที่ 18)
วิถีชีวิตของคนในแถบยุโรปเปลี่ยนไปจากสังคมเกษตร กลับกลายเป็นสังคมอุตสาหกรรม
ประชาชนมุ่งหน้าเดินทางเข้าหาแหล่งงานในเมืองใหญ่ ท าให้เกิดความแออัด ด้วยเหตุที่ว่าชีวิตคนเมืองเต็มไป
ด้วยความรีบเร่ง ท าให้ชาวเมืองเกิดความเครียด ประชาชนจึงมีความต้องการพื้นที่พักผ่อนส่วนกลางในเมือง
มาก จึงได้มีการเรียกร้องให้เปิดสวนของพระราชวังให้ประชาชนได้เข้าไปใช้พักผ่อน และต่อมาได้มีการจัดหา
ที่ดินส าหรับพัฒนาขึ้นเป็นสวนสาธารณะ โดยเฉพาะสวนส่วนตัวบางแห่งให้เป็นสาธารณะประโยชน์
2) วิวัฒนาการและความเป็นมาของงานป่าไม้ในเมืองของประเทศไทย
สมัยกรุงสุโขทัย
พ่อขุนรามค าแหง ได้ทรงสร้างบ้านเมือง สร้างป่า จากหลักศิลาจารึกระบุไว้ดังนี้“ …ไพรใน
เมืองสุโขทัยนี้จึงชม สร้างป่าหมาก ป่าพลูทั่วเมืองทุกแห่งหน ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ป่าลางก็หลายในเมือง
นี้หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้หมากขามก็หลายในเมืองนี้” ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นว่าสภาพความเป็นอยู่ของคนสุโขทัย
นั้นชีวิตผูกพันอยู่กับศาสนา ธรรมชาติ พื้นที่สีเขียวของเมืองรวมอยู่กับบ้านเรือนอย่างใกล้ชิด พื้นที่สีเขียวส่วน
ใหญ่เป็นเรือกสวน เนื่องจากคนในสมัยสุโขทัยมีอาชีพส่วนใหญ่ท าการเกษตรชีวิตจึงผูกพันอยู่กับไร่นาและ
เกษตรกรรม
สมัยกรุงศรีอยุธยา
การสร้างกรุงในระยะแรกให้ความส าคัญกับบริเวณหนองโสน (บึงพระราม) มีการสร้าง
พระราชวังทางตอนเหนือของบึงพระราม ซึ่งบึงพระรามนี้ถือว่าเป็นที่ว่างสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดภายในเมือง ที่
ประชาชนใช้ประโยชน์เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ แต่ถ้าหากต้องการใช้ที่ว่างอื่นๆ เพื่อการพักผ่อนหรือละเล่น ต้อง
ออกไปท้องทุ่งนอกก าแพงเมืองที่มีทั้งพื้นที่ว่างและพื้นที่เกษตรกรรม
5
เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง “การคัดเลือกชนิดไม้และการจัดการต้นไม้ในเมือง” วันเสาร์ ที่ 10 กันยายน 2559 เวลา 10:00-12:00
โดย มณฑาทิพย์ โสมมีชัย ภาควิชาวนวัฒนวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ E-mail: fformts@ku.ac.th
ต่อมาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พบว่ามีการสร้างสวนในพระราชวัง เช่น
พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ จ. ลพบุรี สร้างและประดับด้วยต้นไม้และน้ าพุ และพระราชอุทยานส่วน
พระองค์อีกแห่งคือสวนแก้ว
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
* รัชกาลที่ 1 …ช่วงของการสร้างบ้านแปงเมือง พื้นที่สีเขียวของเมืองออกมาในรูปของสวน
ในพระราชวัง ที่ว่างสาธารณะส่วนใหญ่จะใช้ลานวัดในการพบปะสังสรรค์และท ากิจกรรมร่วมกัน และยังใช้เป็น
สนามเด็กเล่นไปในตัว มีคลองน้ า และแม่น้ าเจ้าพระยาเป็นที่โล่งรักษาสภาพแวดล้อม และท้องสนามหลวงที่
ใช้ส าหรับการประชุมประชาชนจ านวนมาก
* รัชการที่ 5… ทรงตั้งกรมพระราชอุทยานขึ้นเพื่อรักษาต้นไม้โดยเฉพาะ โดยมีเจ้ากรม
บรรดาศักดิ์เป็นพระยาอภิรักษ์ราชอุทยานเป็นผู้ดูแลต้นไม้หลวงและขยายกิจการตามล าดับ ปรากฏพระราชวัง
สราญรมย์ (สร้างใน ร. 4)
* รัชกาลที่ 6… พระราชทานที่ดินบริเวณทุ่งศาลาแดงให้จัดสร้างเป็นพื้นที่สาธารณะ เพื่อใช้
จัดแสดงสินค้าและเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ เรียกว่า “สวนลุมพินี”
* รัชกาลที่ 7… โปรดเกล้าฯ สร้างพระราชวังไกลกังวล หัวหิน และสวนนั้นทรงอนุรักษ์
พรรณไม้ป่าติดพื้นที่ไว้ตามสภาพเดิมที่เหลืออยู่
* รัชกาลที่ 9… ทรงรวบรวมสร้างสวนพรรณไม้ในอาณาเขตพระราชฐาน สวนจิตรลดา
รโหฐาน เขตพระราชวังดุสิต ทรงให้ส ารวจและท าประวัติเพื่อศึกษาพันธุ์ไม้ป่าดั้งเดิมกับน ามาปลูกเพิ่มขึ้น ทรง
จัดท า “สวนป่าสาธิต” โดยใช้พันธุ์ไม้ป่าประเภทต่างๆ ทั้งป่าดิบ ป่าผลัดใบ ป่าโปร่ง และป่าพรุ จนกลายเป็น
“สวนป่าสาธิต” กลางกรุงเทพมหานคร
ยุคปัจจุบัน
ประเทศไทยมีการปกครองและบริหารประเทศโดยมีคณะรัฐบาลกลางเป็นผู้บริหารประเทศ
ซึ่งมีหน่วยงานราชการหลายๆ หน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่ในการก าหนดนโยบาย การบริหารและการจัดการ
ป่าไม้ในเมืองและพื้นที่สีเขียวในเมือง เช่น กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ส านัก
นโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กรมโยธาธิการและผังเมือง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานท้องถิ่นได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนต าบล
องค์การบริหารส่วนจังหวัด ท าหน้าที่เป็นผู้ดูแลต้นไม้และสวนสาธารณะในเขตชุมชน และเทศบาลต่างๆ
ภายใต้แนวนโยบายและแนวความคิดเรื่อง “การสร้างป่าพัฒนาเมือง” และ “การสร้างพื้นที่สีเขียวในเขต
เมือง” เพื่อให้พื้นที่เมืองกลายเป็น “เมืองสีเขียวที่น่าอยู่อย่างยั่งยืน”
ส าหรับกรุงเทพมหานคร มีหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร
ได้แก่ ส านักสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานคร โดยกองสวนสาธารณะ ท าหน้าที่ในการบริหารจัดการสวนสาธารณะ
ต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร และส านักงานเขตต่างๆ ท าหน้าที่ดูแลพื้นที่สวนหย่อมและต้นไม้ใน
6
เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง “การคัดเลือกชนิดไม้และการจัดการต้นไม้ในเมือง” วันเสาร์ ที่ 10 กันยายน 2559 เวลา 10:00-12:00
โดย มณฑาทิพย์ โสมมีชัย ภาควิชาวนวัฒนวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ E-mail: fformts@ku.ac.th
กรุงเทพมหานคร เช่น ต้นไม้ตามริมถนน ริมทางเท้า เกาะกลาง เป็นต้น นอกจากนี้ส านักผังเมือง
กรุงเทพมหานคร ยังเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทส าคัญในการใช้มาตรการทางด้านผังเมืองมาใช้ในการวางแผน
และวางผังเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและป่าไม้ในเมืองของกรุงเทพมหานครขึ้น ด้วยความมุ่งหวังและมุ่งมั่นว่า จะ
สร้างให้กรุงเทพมหานครกลายเป็น “เมืองที่น่าอยู่” และกลายเป็น “เมืองสีเขียว” ในอนาคต
3) วิวัฒนาการการเรียนการสอน “การป่าไม้ในเมือง” ของประเทศไทย
ในอดีตการเรียนการสอนเกี่ยวกับการป่าไม้ในเมืองของประเทศไทย โดยคณะวนศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ยังมิได้ให้ความส าคัญและความสนใจมากนัก เนื่องจากส่วนใหญ่ค าว่า “การป่าไม้”
บุคคลโดยทั่วๆ ไปจะนึกถึงเพียงว่าต้องเป็นบริเวณพื้นที่ซึ่งมีต้นไม้ที่อยู่ในป่าเท่านั้น ดังนั้นวิชาการป่าไม้ในเมือง
จึงเป็นเพียงรายวิชาหนึ่งของภาควิชาวนวัฒนวิทยา คณะวนศาสตร์ โดยในปี พ.ศ. 2521 ได้มีการเรียนการสอน
ที่เกี่ยวข้องกับการป่าไม้ในเมือง ภายใต้ชื่อวิชา "การปลูกต้นไม้เพื่อความรื่นรมย์ (tree amenity)" หรือ "สวน
ป่าดู๋ดี๋" (amenity plantation) ขึ้น ซึ่งเป็นรายวิชาที่มุ่งเน้นเกี่ยวกับการปลูกต้นไม้เพื่อความรื่นรมย์เจริญตา
เจริญใจ และใช้ประโยชน์ในเชิงนันทนาการเท่านั้น ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาและรายวิชาใหม่โดยใช้ชื่อ
วิชาว่า “วนวัฒนวิทยาในเขตเมือง” (urban silviculture) เพื่อให้ครอบคลุมถึง การจัดการต้นไม้และพืช
พรรณในเขตเมืองตามหลักวนวัฒนวิทยา คือจะต้องมีการศึกษาถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อมในเขตเมืองที่มีผลต่อต้นไม้
การควบคุมหมู่ไม้/ต้นไม้ทั้งทางด้านการเกิด การเติบโต องค์ประกอบ สุขภาพ และคุณภาพ ซึ่งการจัดการ
ต้นไม้และหมู่ไม้เหล่านั้นจ าเป็นต้องใช้ “วนวัฒนวิธี” (silvicultural practices) ที่ถูกต้องและเหมาะสม และ
การจัดการนั้นต้องเป็นไปอย่างยั่งยืน (sustainable management) ต่อมาคณะวนศาสตร์ได้เล็งเห็น
ความส าคัญของงานทางด้าน “การป่าไม้ในเมือง” ที่จะทวีความส าคัญมากขึ้นเรื่อยๆ จึงได้พัฒนาและปรับปรุง
รายวิชาพร้อมทั้งปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับสถานการณ์การเรียนการสอน และการพัฒนางานทางด้าน
ป่าไม้เมืองทั้งในปัจจุบันและในอนาคต โดยมีรายวิชาที่เปิดสอนเพิ่มเติมทั้งในหลักสูตรระดับปริญญาตรี และ
ระดับปริญญาโท คือ วิชานิเวศวิทยาเขตเมือง (urban ecology) วิชาวนวัฒนวิทยาเขตเมืองขั้นสูง (advance
urban silviculture) วิชาการจัดการพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง (urban green space management) วิชา
ภูมิอากาศจุลภาคในเขตเมือง (urban microclimate) และวิชาสถาปัตยลักษณ์ของไม้ต้น (tree
architecture) เป็นต้น
แนวโน้มการเรียน การสอน และการป่าไม้ในเมืองในอนาคตนั้น จะต้องเน้นการเรียนการสอน
และการจัดการแบบบูรณาการ เนื่องจากการเรียนการสอนและการจัดการป่าไม้ในเมืองนั้นเป็นทั้งศาสตร์และ
ศิลป์ มีความเชื่อมโยงและเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ มากมาย เช่น วิชาทางด้านการจัดการป่าไม้ นิเวศวิทยา
ชีววิทยาป่าไม้ วนวัฒนวิทยา สิ่งแวดล้อม ปฐพีวิทยา พืชสวน ภูมิสถาปัตย์ การวางผังเมือง ฯลฯ ทั้งนี้งาน
ทางด้านการป่าไม้ในเมืองในอนาคตจะต้องตอบสนองต่อวัตถุประสงค์และความต้องการของมนุษย์อย่าง
หลากหลาย เนื่องจากประเด็นปัญหาของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมในเขตเมืองจะทวีความรุนแรงมากขึ้น
ความเครียดและแรงบีบเค้นจากปัญหาต่างๆ เหล่านี้ จะท าให้มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองที่มีการพัฒนาทาง
วัตถุอย่างถึงขีดสุด เริ่มหันกลับและแสวงหาชีวิตและความสมดุลตามธรรมชาติ ดังแสดงให้เห็นจาก
ประสบการณ์ของประเทศที่พัฒนาแล้วหรือเจริญแล้วในหลายๆ ประเทศ